วันเสาร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ความรักชาติ


ความรักชาติ

" ... คนไทยรักษาชาติรักษาแผ่นดินเป็นปึกแผ่น มั่นคงมาได้ด้วยสติปัญญาความสามารถ และด้วย คุณความดีอิสรภาพ เสรีภาพความร่มเย็นเป็นสุข ตลอดจนความเจริญทุกอย่างที่มีอยู่บัดนี้ เรา ทั้งหลายในปัจจุบัน จึงต้องถือเป็นหน้าที่รับผิดชอบ อย่างสำคัญ ในอันที่จะรักษาคุณความ ดีพร้อมทั้งจิตใจที่เป็นไทยไว้ให้มั่นคง ตลอดไป ..." พระราชดำรัส ในการเสด็จออกมหาสมาคม ในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2521 "...คนไทยทุกคนควรภาคภูมิใจในความเป็นไทย คือเป็นพลเมืองของชาติที่มีเอกราชมามากกว่า 700ปี นักเรียนไทยทุกคนจะสนองคุณ ชาติบ้านเมืองได้ในขณะที่อยู่ต่างประเทศก็โดย การวางตนเป็นผู้แทนที่ดีของประเทศ..." พระราชดำรัส พระราชทานแก่นักเรียนไทยในสหรัฐอเมริกา ณ โรงแรมพลาซ่านครนิวยอร์ค 8 มิถุนายน 2510 "...ความจงรักภักดีต่อชาตินั้น คือความสำนึก ตระหนักในคุณของแผ่นดินอันเป็นที่เกิด ที่อาศัยซึ่งทำให้บุคคลเกิดความภูมิใจในชาติ กำเนิดและมุ่งมั่นที่จะธำรงรักษาประเทศชาติ ไว้ให้เป็นอิสระมั่นคงตลอดไป ..." พระบรมราโชวาท ในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณ และสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ ณ ลานพระราชวังดุสิต 3 ธันวาคม 2529 "...ผู้ที่จะรักษาความเป็นไทยได้มั่นคงที่สุด ดีและเหมาะสมที่สุด ไม่มีใครอื่นนอก จากคนไทย เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะอยู่ ณ แห่งใดคนไทยมีหน้าที่ต้องรักษาความเป็นไทย ได้เสมอ..." พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่ สมาคมนักเรียนไทยในประเทศญี่ปุ่น 27 กุมภาพันธ์ 2537 " ...ทุกๆ คนในชาติย่อมมีหน้าที่ที่จะต้อง ปฏิบัติ ถ้าแต่ละคนปฏิบัติหน้าที่ของตน ให้เป็น ผลดีที่สุดที่จะกระทำได้ ด้วยความรักชาติ และมีความสามัคคีกลมเกลียวกันแล้วชาติของเรา จะเจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นสืบไป ..." พระบรมราโชวาท ในพีธีตรวจพลสวนสนาม เนื่องในโอกาศเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ลานพระราชวังดุสิต 3 ธันวาคม 2504 "...ชาติบ้านเมือง คือ ชีวิตเลือดเนื้อและสมบัติของ เราทุกคนและการดำรงรักษาชาติประเทศนั้นมิ ใช่หน้าที่ของบุคคลผู้ใดหมู่ใดโดยเฉพาะ หากแต่เป็นหน้าที่ของทุกๆฝ่าย ทุกๆคนที่ จะต้องร่วมมือกระทำพร้อมกันไปโดยสอดคล้อง เกื้อกูลกัน.." พระบรมราโชวาท ในพิธีตรวจพลสวนสนาม 8 มิถุนายน 2514 "...การที่จะช่วยชาติบ้านเมืองนั้นมีหลายทาง แต่ทางที่ดีที่สุดโดยแต่ละคนต่างทำ หน้าที่ ของตนโดยความซื่อสัตย์ สุจริต อดทน ทำ ให้กิจการต่างๆทุกด้านดำเนินไปด้วยดีนี้ เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับประเทศชาติ..." พระราชดำรัส พระราชทานแก่คณะกรรมการ บริษัท สยามกลกาล จำกัด ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน 28 ธันวาคม 2522 "...บรรพชนไทย เป็นนักต่อสู้ผู้มีชีวิตจิตใจ ผูกพันปรองดองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันสามัคคี พร้อมเพรียงกัน ทุกเมื่อไม่ว่าจะทำการสิ่งใด บ้านเมืองไทยจึงมีเอกราชประชาอธิปไตย และมี ความสุขความสมบูรณ์ทุกอย่างมาจนกระทั่งทุกวันนี้ .." พระบรมราโชวาท ในพีธีสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ 3 ธันวาคม 2522 ณ ลานพระราชวังดุสิต "... คนไทย แม้จะมีจิตใจรักความสะดวกสบาย และมักทำตามใจตัวกันเป็นปกติ แต่ก็มี ความสำนึกมั่นในชาติอยู่แทบทุกตัวคน ยามมีอันตรายเกิดขึ้นแก่บ้านเมือง ก็รวมกัน ได้เหนียวแน่น ดังนั้น เราจึงมีชาติมีประเทศ อันตั้งมั่นโดยอิสระและเสรีมาช้านาน..." พระราชดำรัส ในการเสด็จออกมหาสมาคม เนื่องในงานพระราชพิธีเฉลิมพระเฉลิมชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2520 "...ชาติบ้านเมือง คือ ชีวิตเลือดเนื้อและสมบัติของ เราทุกคนและการดำรงรักษาชาติประเทศนั้นมิ ใช่หน้าที่ของบุคคลผู้ใดหมู่ใดโดยเฉพาะ หากแต่เป็นหน้าที่ของทุกๆฝ่าย ทุกๆคนที่ จักต้องร่วมมือกระทำพร้อมกันไปโดยสอดคล้อง กัน และมีจุดมุ่งหมายอันร่วมกัน..." พระบรมราโชวาท พระราชทานในพิธีตรวจพลสวนสนาม เนื่องในงานพระราชพีธีรัชดาภิเษก 8 มิถุนายน 2514 "...บ้านเมืองของเราเป็นปึกแผ่นมั่นคง มี อิสรภาพและความร่มเย็นเป็นสุขสืบมาช้านาน เพราะ เรามีความยึดมั่นในชาติ และร่วมแรงร่วมใจกันบำเพ็ญกรณียกิจต่างๆ ตามหน้าที่ ให้สอดคล้องเกื้อกูลกันเพื่อประโยชน์ ส่วนรวมของชาติ..." พระราชดำรัสในการเสด็จออกมหาสมาคม ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย 5 ธันวาคม 2512 "...ประเทศไทย เป็นประเทศที่อยู่มาเป็นเวลาช้านาน ได้ตกทอดมาเป็นสมบัติของทุกคนใน ปัจจุบัน จึงต้องช่วยกันทะนุถนอม ให้อยู่เย็นเป็นสุขต่อไป แม้จะมี สภาพสถานการณ์ต่างๆ แวดล้อมซึ่งอันตรายและทั้งโลกก็ ประสบปัญหาต่างๆ นานา ก็เชื่อได้ว่า พวกเราจะสามารถไปรอดได้ .." พระราชดำรัส ในโอกาสที่คณะรัฐมนตรีเข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณตน ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน 14 มีนาคม 2523 "... ทุกคนที่ทำหน้าที่ตามอาชีพของตน หรือ ตามหน้าที่ของตนอย่างเต็มที่ อย่างเสียสละเพื่อให้ งานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีนั้น ก็เป็นสิ่งที่สร้างเสริมความดีแก่ประเทศชาติ ในตัว ..." พระราชดำรัส พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆที่เข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคล เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิตาลัย 4 ธันวาคม 2518 "...ไม่ว่าจะมีเหตุไม่ปรกติหรือปัญหาใดๆเกิด ขึ้น เราควรจะได้ทำความเข้าใจกันและ ร่วมกันคิดอ่านปฏิบัติแก้ไข ด้วยเหตุผลด้วยหลักวิชาการ และด้วยความบริสุทธิ์ จริงใจให้ทุกสิ่งทุกอย่างคลี่คลายลุล่วงไป เพื่อให้ประเทศชาติของเราก้าวหน้าต่อไปโดย สวัสดี..." พระราชดำรัสพระราชทานแก่ประชาชนชาวไทย ในโอกาสขึ้นปีใหม่ 2540 คัดลอกจาก กรมประชาสัมพันธ์

ความสามัคคี



ความสามัคคี

สามัคคีคือพลังความสามัคคี หมายถึง ความพร้อมเพรียงกัน ความกลมเกลียวเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ไม่ทะเลาะเบาะแว้ง วิวาทบาดหมางซึ่งกันและกันสามัคคีคือพลัง ความสามัคคี มีด้วยกัน 2 ประการ คือ 1. ความสามัคคีทางกาย ได้แก่ การร่วมแรงร่วมใจกันในการทำงาน 2. ความสามัคคีทางใจ ได้แก่ การร่วมประชุมปรึกษาหารือกันในเมื่อเกิดปัญหาขึ้นความสามัคคี ดังที่ว่ามานี้ จะเกิดมีขึ้นได้ ต้องอาศัยเหตุที่เรียกกันว่า สาราณียธรรม ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน กระทำซึ่งความเคารพระหว่างกัน อยู่ร่วมกันในสังคมด้วยดี มีความสุข ความสงบ ไม่ทะเลาะเบาะแว้ง ทำร้ายทำลายกัน มี 6 ประการ คือ 1. เมตตากายกรรม ทำต่อกันด้วยเมตตา คือ แสดงไมตรีและความหวังดีต่อเพื่อนร่วมงาน ร่วมกิจการ ร่วมชุมชน ด้วยการช่วยเหลือธุระต่างๆ โดยเต็มใจ แสดงอาการกิริยาสุภาพ เคารพนับถือกัน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง2. เมตตาวจีกรรม พูดต่อกันด้วยเมตตา คือ ช่วยบอกแจ้งสิ่งที่เป็นประโยชน์ สั่งสอนหรือแนะนำตักเตือนกันด้วยความหวังดี กล่าววาจาสุภาพ แสดงความเคารพนับถือกัน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง3. เมตตามโนกรรม คิดต่อกันด้วยเมตตา คือ ตั้งจิตปรารถนาดี คิดทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่กัน มองกันในแง่ดี มีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสต่อกัน4. สาธารณโภคี ได้มาแบ่งกันกินใช้ คือ แบ่งปันลาภผลที่ได้มาโดยชอบธรรม แม้เป็นของเล็กน้อย ก็แจกจ่ายให้ได้มีส่วนร่วมใช้สอยบริโภคทั่วกัน5. สีลสามัญญตา ประพฤติให้ดีเหมือนเขา คือ มีความประพฤติสุจริต ดีงาม รักษาระเบียบวินัยของส่วนรวม ไม่ทำตนให้เป็นที่น่ารังเกียจ หรือ เสื่อมแก่หมู่คณะ6. ทิฏฐิสามัญญตา ปรับความเห็นเข้ากันได้ คือ เคารพรับฟังความคิดเห็นกัน มีความเห็นชอบร่วมกัน ตกลงกันได้ในหลักการสำคัญ ยึดถืออุดมคติหลักแห่งความดีงาม หรือจุดหมายอันเดียวกันธรรมทั้ง 6 ประการนี้ เป็นคุณค่าก่อให้เกิดความระลึกถึง ความเคารพนับถือกันและกัน เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์ยึดเหนี่ยวน้ำใจกัน เพื่อป้องกันความทะเลาะ ความวิวาทแก่งแย่งกัน เพื่อความพร้อมเพรียงร่วมมือ ผนึกกำลังกัน เพื่อความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันอานิสงส์ของความสามัคคีนี้ ท่านกล่าวไว้ว่า เป็นบ่อเกิดแห่งความสุข ความเจริญ เป็นเหตุแห่งความสำเร็จในกิจการงานต่างๆ การงานอันเกินกำลังที่คนๆ เดียวจะทำได้ เช่น การก่อสร้างบ้านเรือน ต้องอาศัยความสามัคคีเป็นที่ตั้ง แมลงปลวกสามารถสร้างจอมปลวกที่ใหญ่โตกว่าตัวหลายเท่าให้สำเร็จได้ ก็อาศัยความสามัคคีกัน ความสามัคคีคือพลัง เพราะฉะนั้น การรวมใจสามัคคีกันจึงเกิดมีพลัง ส่วนการแตกสามัคคีกันทำให้มีกำลังน้อยโทษของการแตกสามัคคีกันนั้น ท่านกล่าวไว้ว่า หาความสุข ความเจริญไม่ได้ ไม่มีความสำเร็จด้วยประการทั้งปวง เหตุให้แตกความสามัคคีกันนี้ อาจเกิดจากเหตุเล็กๆ น้อยๆ ก็เป็นได้ เหมือนเรื่องน้ำผึ้งหยดเดียว แต่เป็นเหตุให้เกิดสงครามได้เหมือนกัน ยกตัวอย่างเรื่องของเมืองไพศาลี แคว้นวัชชี พวกเจ้าลิจฉวีมีความสามัคคีกัน พระเจ้าอชาตศัตรู ทำอะไรไม่ได้ แต่เมื่อถูกวัสสการพราหมณ์ยุยงให้แตกสามัคคีกันเท่านั้น ก็เป็นเหตุให้พระเจ้าอชาตศัตรู เข้าโจมตีและยึดเมืองเอาไว้ได้ในที่สุดดังนั้น ความสามัคคี ถ้าเกิดมีขึ้นในที่ใด ย่อมทำให้ที่นั้นมีแต่ความสงบสุข ความเจริญ ส่วนความแตกสามัคคี ถ้าเกิดมีขึ้นในที่ใด ย่อมทำให้ที่นั้นประสบแต่ความทุกข์ มีแต่ความเสื่อมเสียโดยประการเดียว
คอลัมน์ ธรรมะวันหยุดพระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ. ๙) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร watdevaraj@hotmail.comที่มา... ฉบับที่ 6715 ข่าวสดรายวัน
google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);

วัฒนธรรมประเพณีไทย

ฮีตสิบสอง
ภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด กาฬสินธุ์
ช่วงเวลา ความสำคัญ พิธีกรรม และ สาระประเพณีท้องถิ่นกาฬสินธุ์ ยังยึดถือ และปฏิบัติตามฮีตสิบสอง คำว่า "ฮีต" หมายถึง จารีต ขนบธรรมเนียมประเพณี แบบแผนฮีตที่ถือปฏิบัติกันอยู่ ๑๒ อย่าง ภาษาพื้นบ้านเรียกว่า "บุญ" ดังนี้๑. บุญข้าวกรรมเกี่ยวกับพระภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส ต้องอยู่กรรมจึงจะพ้นอาบัติ ถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ในระหว่างภิกษุเข้ากรรม ญาติ โยม สาธุชน ผู้หวังบุญกุศล จะไปร่วมทำบุญบริจาคทาน รักษาศีลเจริญภาวนา และฟังธรรม เป็นการร่วมทำบุญระหว่างพระภิกษุ สามเณร และชาวบ้าน กำหนดวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนอ้าย เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "บุญเดือนอ้าย"๒. บุญคูนลานการทำบุญคูนลาน จะทำที่วัด หรือที่บ้านก็ได้ โดยชาวบ้านจะเอาข้าวมารวมกัน แล้วนิมนต์พระภิกษุมาเจริญพระพุทธมนต์ จัดน้ำอบ น้ำหอมไว้ประพรม วนด้ายสายสิญจน์บริเวณรอบกองข้าว ตอนเช้ามีการถวายอาหารบิณฑบาต และนำเอาน้ำพระพุทธมนต์ไปรดกองข้าว ถ้าทำที่บ้านเรียกว่า "บุญกุ้มข้าว" กำหนดในเดือนยี่ เรียกอย่างหนึ่งว่า "บุญเดือนยี่๓. บุญข้าวจี่เดือนสามชาวบ้านนิยมทำบุญข้าวจี่ เพื่อถวายพระ เป็นการละทานชนิดหนึ่ง และถือว่าได้รับอานิสงส์มากงานหนึ่ง กำหนดทำบุญในเดือนสาม๔. บุญพระเวสบุญที่มีการเทศพระเวส หรือบุญมหาชาติ หนังสือมหาชาติเป็นหนังสือชาดกที่แสดงจริยวัตรของพระพุทธเจ้า เมื่อเสวยชาติเป็นพระเวสสันดร กำหนดทำบุญเดือนสี่ จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "บุญเดือนสี่"๕. บุญสรงน้ำบุญสรงน้ำ มีการรดน้ำ หรือสรงน้ำพระพุทธรูป พระสงฆ์ และผู้หลักผู้ใหญ่ มีการทำบุญทำทาน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "บุญตรุษสงกรานต์" กำหนดทำบุญในเดือน ห้า๖. บุญบั้งไฟก่อนการทำนาชาวบ้านในจังหวัดในภาคอิสาน จะมีการฉลองอย่างสนุกสนาน โดยการจุดบั้งไฟ เพื่อไปบอกพญาแถน เชื่อว่าจะทำให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล มีการตกแต่งบั้งไฟให้สวยงามนำมาประกวดแห่ แข่งขันกันในวันรุ่งขึ้น กำหนดทำบุญในเดือน หก๗. บุญซำฮะซำฮะ คือการชำระล้างสิ่งสกปรก รกรุงรังให้สะอาดหมดจด เมื่อถึงเดือน ๗ ชาวบ้านจะรวมกันทำบุญโดยยึดเอา "ผาม หรือศาลากลางบ้าน" เป็นสถานที่ทำบุญ ชาวบ้านจะเตรียมดอกไม้ธูปเทียน โอน้ำ ฝ้ายใน ไหมหลอด ฝ้ายผูกแขน แห่ทรายมารวมกันที่ ผามหรือศาลากลางบ้าน ตอนเย็นนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ ตอนเช้าถวายอาหาร เมื่อเสร็จพิธีทุกคนจะนำน้ำพระพุทธมนต์ ฝ้ายผูกแขน แห่ทรายของตนกลับบ้าน นำน้ำมนต์ไปรดลูกหลาน ทรายนำไปหว่านรอบบ้าน ฝ้ายผูกแขนนำไปผุกข้อมือลูกหลานเพื่อให้เกิดสวัสดิมงคลตลอดปี ถ้ามีการเจ็บไข้ได้ป่วยต้องมีการสวดถอด เป็นต้น กำหนด ทำบุญในเดือน ๗๘. บุญเข้าพรรษาในเทศกาลเข้าพรรษา เป็นเวลาที่พระภิกษุสงฆ์จะต้องบำเพ็ญไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ให้บริบูรณ์ ส่วนคฤหัสถ์ก็จะต้องบำเพ็ญบุญกริยาวัตถุ ๓ คือ ทาน ศีล ภาวนา ให้เต็มเปี่ยม ตอนเช้าญาติโยมจะนำอาหารมาถวายพระภิกษุ ตอนบ่ายนำดอกไม้ธูปเทียน ข้าวสาร ผ้าอาบน้ำฝน รวมกันที่ศาลาวัด ตอนเย็นญาติโยมพากันทำวัตรเย็นแล้วฟังเทศน์ กำหนด วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "บุญเดือน ๘"๙. บุญข้าวประดับดินห่ออาหาร และของขบเคี้ยวเป็นห่อๆ แล้วนำไปถวายวางแบไว้กับดิน จึงเรียกว่า "บุญข้าวประดับดิน" ชาวบ้านจะจัดอาหารคาว หวาน และหมากพลู บุหรี่ กะว่าให้ได้ ๔ ส่วน ส่วนที่ ๑ เลี้ยงดูกันในครอบครัวส่วนที่ ๒ แจกให้ญาติพี่น้องส่วนที่ ๓ อุทิศไปให้ญาติที่ตายส่วนที่ ๔ นำไปถวายพระสงฆ์ทำเป็นห่อๆให้ได้พอควร โดยนำใบตองกล้วย มาห่อของคาว หวาน หมากพลู บุหรี่ แล้วเย็บรวมกันเป็นห่อใหญ่ ในระหว่าง เช้ามืดในวันรุ่งขึ้นจะนำห่อเหล่านี้ไปวางไว้บริเวณวัด ด้วยถือว่าญาติพี่น้องจะมารับของที่นั่น (เชื่อกันว่าเป็นวันยมทูตเปิดนรกชั่วคราว ให้สัตว์นรก มารับของทานในระยะหนึ่ง และยังถือว่าเป็นวันกตัญญูอีกด้วย) ตอนเช้านำอาหารอีกส่วนหนึ่งไปถวายพระ ฟังพระธรรมเทศนา เสร็จแล้วทำพิธีอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ที่ล่วงลับไปแล้วกำหนดทำบุญในเดือน ๙๑๐. บุญข้าวสากการเขียนชื่อลงในพาข้าว (สำรับกับข้าว) เรียกว่าข้าวสาก (สลาก) ญาติโยมจะจัดอาหารเป็นห่อๆ แล้วนำไปแขวนไว้ตามต้นไม้ โดยทำกันในตอนกลางวัน ก่อนเพล เป็นอาหาร คาว หวาน พอถึงเวลา ๔ โมงเช้า พระสงฆ์จะตีกลองโฮม (รวม) ญาติโยมจะนำพาข้าว (สำรับกับข้าว) ของตนมารวมกัน ณ ศาลาการเปรียญ เจ้าภาพจะเขียนชื่อลงในกระดาษม้วนลงในบาตร เมื่อพร้อมแล้วหัวหน้ากล่าวนำคำถวายสลากภัต จบแล้วยกบาตรสลากไปให้พระจับ ถูกชื่อใคร ก็ให้ไปถวายพระองค์นั้น ก่อนจะถวายพาข้าวให้นำพาข้าว ๑ พา มาวางหน้าพระเถระ แล้วให้พระเถระ กล่าวคำอุปโลกน์กำหนด บุญข้าวสากนิยมทำกันในเดือน ๑๐๑๑. บุญออกพรรษาการทำบุญออกพรรษานี้ เป็นการเปิดโอกาสให้พระภิกษุสงฆ์ได้มีโอกาสว่ากล่าวตักเตือนกันได้ พระภิกษุสงฆ์สามารถเดินทางไปอบรมศีลธรรม หรือไปเยี่ยม ถามข่าวคราว ญาติพี่น้องได้ และภิกษุสงฆ์สามารถหาผ้ามาผลัดเปลี่ยนได้เมื่อถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ตั้งแต่เช้ามืดจะมีการตีระฆังให้พระสงฆ์ไปรวมกันที่โบสถ์แสดงอาบัติเช้า จบแล้วมีการปวารณา คือเปิดโอกาสให้พระภิกษุสงฆ์ด้วยกันว่ากล่าวตักเตือนกันได้กำหนด บุญออกพรรษาในเดือน ๑๑๑๒. บุญกฐินผ้าที่ใช้สดึงทำเป็นกรอบขึงเย็บจีวร เรียกว่าผ้ากฐิน ผู้ใดศรัทธา ปรารถนาจะถวายผ้ากฐิน ณ วัดใดวัดหนึ่งให้เขียนสลาก (ใบจอง) ไปติดไว้ที่ผนังโบสถ์ หรือศาลาวัด ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ผู้อื่นจองทับ เมื่อถึงวันกำหนดก็บอกญาติโยมให้มาร่วมทำบุญ มีมหรสพสมโภช และฟังเทศน์ รุ่งเช้าก็นำผ้ากฐินไปทอดถวายที่วัดเป็นอันเสร็จพิธีกำหนด ทำบุญระหว่างวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ถึง วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒




งานมหกรรมโปงลาง แพรวากาฬสินธุ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัดกาฬสินธุ์

ช่วงเวลา ระหว่างวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์-๖ มีนาคม ของทุกปีความสำคัญโปงลาง ถือได้ว่าเป็นเครื่องดนตรีที่เป็นเอกลักษณ์และเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดกาฬสินธุ์ ทั้งนี้เพราะโปงลางได้เปลี่ยนสภาพจากขอลอหรือเกราะลอ มาเป็นเครื่องดนตรีธรรมชาติประเภทเครื่องตีไม้ โดยปราชญ์ชาวบ้านของจังหวัดกาฬสินธุ์คือ นายเปลื้อง ฉายรัศมี ได้พัฒนาจนกลายมาเป็นเครื่องดนตรีชิ้นหนึ่ง บรรเลงร่วมกับเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสานชิ้นอื่น ๆ จนเกิดเป็นวงดนตรีโปงลาง มีการคิดท่าฟ้อนประกอบลายโปงลางรวมทั้งการแสดงต่าง ๆ ที่ดัดแปลงมาจากวิถีชีวิตธรรมชาติของคนชนบทอีสาน จนเป็นที่รู้จักและยอมรับกันโดยทั่วไปเมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๓ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จทรงโปงลางที่วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ ทรงร่วมวงโปงลาง บรรเลงลายเต้ยโขงและลายลมพัดพร้าว ที่พลิ้วหวานจับใจ จังหวัดกาฬสินธุ์จึงถือเอาวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็นวันเริ่มงานมหกรรมโปงลาง แพรวาและกาชาดจังหวัดกาฬสินธุ์สืบต่อกันมาสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดในฐานะผู้รับผิดชอบงานด้านศิลปะและวัฒนธรรม กำหนดให้มีการประกวดวงดนตรีและการแสดงโปงลาง โดยแบ่งประเภทวงออกเป็น ๓ ระดับ คือ ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และระดับประชาชน โดยจัดให้มีการประกวดในช่วงเวลาของงานเทศกาลประจำปีที่ยิ่งใหญ่นี้คือ งานมหกรรมประกวดดนตรีโปงลาง งานเทศกาลผ้าไหมแพรวา ที่เป็นสุดยอดของดีเอกลักษณ์ของจังหวัดกาฬสินธุ์ อีกทั้งยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานถ้วยรางวัลชนะเลิศการประกวดดนตรีโปงลางระดับประชาชน ถ้วยรางวัลชนะเลิศระดับมัธยมศึกษา พระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์อัครราชกุมารี และถ้วยรางวัลชนะเลิศระดับประถมศึกษาจากเลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ จากปี พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นต้นมา นับว่าเป็นปีทองของดนตรีโปงลางของจังหวัดกาฬสินธุ์เพราะดนตรีโปงลางของจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้สร้างชื่อเสียงให้แก่จังหวัดและประเทศไทย โดยได้รับรางวัลชนะเลิศในการประกวดดนตรีพื้นเมืองนานาชาติ ระดับมัธยมศึกษา ครั้งที่ ๑ ณ ประเทศตุรกี จนเป็นผลให้การแสดงดนตรีโปงลางของจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปสาระงานมหกรรมโปงลาง แพรวาและงานกาชาดจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นงานประเพณีท้องถิ่นของจังหวัดที่จัดเป็นประจำทุกปี เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ประชาชนและนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยชาวต่างประเทศต่างให้ความสนใจกับงานเทศกาลนี้ โดยในแต่ละปีจะเดินทางมาเที่ยวชมและเลือกซื้อสินค้าพื้นเมืองเลื่องชื่อของจังหวัดไปปีละเป็นจำนวนมาก เป็นการส่งเสริมรายได้อุตสาหกรรมท้องถิ่นอีกทางหนึ่งด้วย วัตถุประสงค์หลักของงานนี้มุ่งเผยแพร่ ฟื้นฟู อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนเผยแพร่ความรู้ด้านเทคโนโลยีและผลงานของส่วนราชการทั้งภาครัฐและเอกชนของจังหวัด แก่ประชาชนผู้สนใจทั่วไป จุดเน้นสำคัญของงานคือขบวนแห่ในพิธีเปิดงานที่มโหฬารที่แสดงให้เห็นถึง ประเพณีศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สร้างขึ้นจากคำขวัญของจังหวัดกาฬสินธุ์ที่ว่า "โปงลางเลิศล้ำ วัฒนธรรม ผู้ไทย ผ้าไหมแพรวา ผาเสวยภูพาน มหาธารลำปาว ไดโนเสาร์สัตว์โลกล้านปี" ที่แสดงถึงความรักสามัคคี ความพร้อมเพรียง การรวมใจเป็นหนึ่งของผู้คนที่จะช่วยกันจรรโลง เชิดชูเกียรติ ชื่อเสียง และเอกลักษณ์ของเมืองกาฬสินธุ์ให้เป็นที่รู้จักสืบไป



งานเทศกาลไหม และประเพณีผูกเสี่ยว
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัดขอนแก่น

ช่วงเวลา วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน-๑๐ ธันวาคม ของทุกปีความสำคัญงานเทศกาลไหมเป็นงานที่จังหวัดขอนแก่นได้จัดขึ้นทุกปี เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๒ จนถึงปัจจุบันโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมอาชีพการทอผ้าไหม มีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมออกร้านแสดงผลิตภัณฑ์และจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง (ผ้าไหม) และของที่ระลึกอื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีการแสดงเพื่อฟื้นฟูและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นประเพณีผูกเสี่ยว ก็เป็นประเพณีสำคัญที่จัดขึ้นพร้อมกันกับงานเทศกาลไหม โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้คนในท้องถิ่นและคนในชาติมีความรักใคร่กลมเกลียว สมัครสมานสามัคคีและช่วยเหลือเกื้อกูลกันคำว่า "เสี่ยว" เป็นภาษาถิ่นอีสาน แปลว่า มิตรแท้ เพื่อนแท้ เพื่อนตาย มีความผูกพัน ซื่อสัตย์ และจริงใจต่อกันพิธีกรรมอุปกรณ์ที่สำคัญมีพานบายศรีอาจเป็นบายศรี ๓ ชั้น ๕ ชั้น หรือ ๗ ชั้น และมีเครื่องประกอบอีกหลายอย่าง คือ สุรา ๑ ขวด ไข่ไก่ต้ม ๑ ฟอง ข้าวต้มมัด ๔ ห่อ กล้วยสุก ๔ ผล ข้าวเหนียวนึ่ง ๑ ปั้น ใบพืชที่เป็นมงคล เช่น ใบคูน ใบเงิน ใบทอง ใบยอ ดอกรัก และที่ขาดไม่ได้คือ ฝ้ายผูกแขนเชิญแขกมงคลมาร่วมพิธี คู่เสี่ยวนั่งล้อมพานบายศรี หมอพราหมณ์เริ่มพิธีด้วยการจุดเทียนที่พานบายศรี อัญเชิญเทวดาลงมาเป็นสักขีพยาน กล่าวถึงงานบายศรีสู่ขวัญเนื่องในโอกาสต่าง ๆ เช่น งานมงคลสมรส มีบุตรใหม่ ขึ้นบ้านใหม่ การเลื่อนยศ การผูกเสี่ยว การบวชนาค ฯลฯ แล้วกล่าวคำอัญเชิญขวัญตามโอกาส เมื่อถึงบทเชิญขวัญผู้ร่วมพิธีจะตะโกนเรียกขวัญของผู้ร่วมพิธีให้มาอยู่กับเนื้อกับตัว จบแล้วหมอพราหมณ์และแขกจะนำด้วยมงคลผูกข้อมือของคู่ขวัญ พร้อมทั้งให้ศีลให้พร ให้รักใคร่สามัคคี ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ต่อจากนั้นคู่ขวัญก็จะผูกข้อมือซึ่งกันและกัน เป็นอันเสร็จพิธีสาระเรียกขวัญเพื่อเป็นการเตือนสติให้รู้จักภาวะของตนเอง เช่น จะแต่งงาน บวช หรือเสี่ยว จะต้องปฏิบัติอย่างไร เชื่อกันว่า ขวัญสิงสถิตอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายและจิตใจ เมื่อทำพิธีเรียกขวัญแล้วก็จะเกิดพลังกายและพลังใจที่เข้มแข็งได้